APR และ APY คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?
มารู้จักกันว่า APR และ APY คืออะไร? ทำไมนักลงทุนทุกคนควรรู้จัก? พร้อมเปรียบเทียบ APR vs APY ว่าแตกต่างกันอย่างไรและอะไรดีกว่ากัน อ่านต่อในบทความ
APR และ APY ต่างกันอย่างไร? สองอย่างนี้ดูเผินๆ เหมือนจะคล้ายกันที่ใช้ในการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน แต่มีความแตกต่างกันเพราะ APR คือการคำนวณผลตอบแทนร้อยละต่อปีแบบดอกเบี้ยคงที่ นิยมใช้ในการคำนวณดอกเบี้ยเพื่อกู้เงิน ในขณะที่ APY คือ อัตราผลตอบแทนแบบทบต้น ซึ่งความถี่ในการทบต้นเป็นข้อแตกต่างหลักที่ทำให้ผลตอบแทน APY สูงกว่า APR นั่นทำให้การลงทุนต่างๆ รวมถึงคริปโตเคอร์เรนซีมักจะมีการจ่ายผลตอบแทนแบบ APY แก่นักลงทุน
มารู้จักกันว่า APR คืออะไรและ APY คืออะไร ไปจนถึงเปรียบเทียบว่า APR และ APY ต่างกันอย่างไรในบทความนี้ อ่านต่อเลย!
- APR คือ อัตราผลตอบแทนหรืออัตราค่าใช้จ่ายร้อยละต่อปีแบบไม่ทบต้น สามารถคำนวณได้โดยใช้อัตราผลตอบแทนคูณกับเงินลงทุน
- APY คือ อัตราผลตอบแทนแบบทบต้น สามารถคำนวณได้โดยเอาดอกเบี้ยที่ได้มาทบเข้าไปรวมกับเงินต้น ส่งผลให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นตามจำนวนเงินต้น
- APR vs APY ความแตกต่างหลักคือการคำนวณดอกเบี้ยทบต้น APR คำนวณจากดอกเบี้ยแบบคงที่ ในขณะที่คำนวณ APY จะมีการทบต้นด้วย
- วิธีการคำนวณ APR ใน DeFi มักจะคํานวณผลตอบแทนทบต้นในระยะสั้นกว่าสถาบันการเงินทั่วไป เรียกว่า APY 7 วัน คือ การคํานวณผลตอบแทนทบต้นทุกๆ 7 วัน
- ลงทุนคริปโตกับ Mitrade ได้ผลตอบแทนแบบ APY นอกจากจะมีความสเถียรแล้ว ยังมีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และไม่เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นด้วย
นักลงทุนหลายๆ คนที่พึ่งเริ่มต้นลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี หรือแม้แต่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับ APR และ APY มากนัก แต่รู้หรือไม่ว่าทั้งสองค่านี้มีความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากใช้ในการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน รวมถึงคำนวณดอกเบี้ยและผลิตภัณฑ์สินเชื่อ อีกทั้งยังมีผลอย่างมากต่อจำนวนเงินที่คุณได้รับหรือต้องจ่ายด้วย
ดังนั้นในบทความนี้เราจะแนะนำให้คุณรู้จักว่า APR และ APY คืออะไร ทำไมนักลงทุนทุกคนควรรสนใจ รวมถึงอธิบายว่า APR และ APY ต่างกันอย่างไร เราไปดูกันเลย!
APR คืออะไร?
Annual Percentage Rate หรือ APR คือ อัตราผลตอบแทนร้อยละต่อปีแบบไม่ทบต้น หรืออาจะหมายถึงอัตราค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้สินเชื่อก็ได้เช่นกัน สามารถคำนวณได้โดยใช้อัตราผลตอบแทนคูณกับเงินลงทุน
สถาบันการเงินต่างๆ มักจะใช้ APR ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อของตัวเอง เช่น เงินกู้ การจำนอง และบัตรเครดิต หรือแม้แต่การออมทรัพย์เนื่องจากทำให้ดูเหมือนว่าผู้กู้จะจ่ายเงินน้อยลงในระยะยาว ดังนั้น APR จึงมีประโยชน์ในการใช้เปรียบเทียบต้นทุนหรือผลตอบแทนระหว่างสถาบันการเงิน นอกเหนือจากการเปรียบเทียบด้วยอัตราดอกเบี้ย แต่ข้อจำกัดของ APR คือ คุณควรใช้เปรียบเทียบสินเชื่อหรือการลงทุนที่มีจำนวนเงินต้นและระยะเวลาใกล้เคียงกัน
ตัวอย่างการคำนวณ APR
หากคุณต้องการลงทุนทำ Yield Farming ใน DeFi ที่ APR คือ 30% โดยคุณมีเงินต้นจำนวน 1,000 บาท หลังจากผ่านไป 1 ปีคุณจะจะได้ผลตอบแทนกลับมา 30% x 1,000 = 300 บาทนั่นเอง และถ้าเงินต้นยังคงเท่าเดิมที่ 1,000 บาท คุณก็จะได้ผลตอบแทนปีละ 300 บาทต่อเนื่องทุกๆ ปี
APY คืออะไร?
Annual Percentage Yield หรือ APY คือ อัตราผลตอบแทนแบบทบต้น วิธีการคำนวณคือเอาดอกเบี้ยที่ได้มาทบเข้าไปรวมกับเงินต้น ทำให้เงินต้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ความถี่ในการทบต้นก็เป็นตัวแปรสำคัญ ยิ่งมีความถี่ในการทบต้นมากเท่าไหร่ ความต่างของผลตอบแทนก็ยิ่งมากขึ้นตาม
การคำนวณ APY สามารถใช้เพื่อประมาณกำไรที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนหรือยอดคงเหลือสุดท้ายในบัญชีเงินฝากได้ และช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่มีระยะเวลาการทบต้นต่างกันได้
ตัวอย่างการคำนวณ APY
หากคุณต้องการลงทุนทำ Yield Farming ใน DeFi ที่ APY คือ 30% (อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 26.25%) และมีการทบต้นทุกวัน โดยคุณมีเงินต้นจำนวน 1,000 บาท ผลตอบแทนในแต่ละวันจะมีค่าตามตาราง
วันที่ | ผลตอบแทน |
1 | 1000.72 |
2 | 1001.44 |
3 | 1002.16 |
4 | 1002.88 |
5 | 1003.60 |
6 | 1004.32 |
7 | 1005.04 |
สรุปว่าผลตอบแทนของ APY 7 วันคือ 1005.04 บาท APY คํานวณผลตอบแทนทบต้นไปเรื่อยๆ ยิ่งเงินต้นและความถี่ในการทบต้นมากจะส่งผลต่อผลตอบแทนมากขึ้นตาม
APR และ APY ต่างกันอย่างไร?
จะเห็นได้เลยว่าแม้ APR และ APY จะมีความคล้ายกัน แต่วิธีการคำนวณไปจนถึงการนำไปใช้นั้นมีความแตกต่างกันทีเดียว ในส่วนนี้เราได้สรุปว่า APR และ APY ต่างกันอย่างไรเป็น 3 ประเด็นดังนี้
1. การคำนวณดอกเบี้ย
APR คำนวณหาผลตอบแทนจากดอกเบี้ยแบบคงที่ ถ้าเงินต้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนที่ได้ก็จะเท่าเดิมทุกๆ ปี ในขณะที่การคำนวณ APY จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะมีการทบต้นด้วย และยิ่งทบต้นถี่มากเท่าใด ความแตกต่างระหว่าง APR และ APY จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
2. ผลตอบแทนที่ได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นไปเรื่อยๆ ทำให้ APY นั้นให้ผลตอบแทนมากกว่า APR อย่างไรก็ตามบางกรณีผลตอบแทนอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนี้เสมอไป ดังนั้นคุณควรศึกษาและฝึกคำนวณด้วยตัวเองเพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบผลตอบแทน
3. จุดประสงค์การนำไปใช้
เนื่องจากการคำนวณดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่ได้มีความแตกต่างกัน จุดประสงค์การนำไปใช้ของ APR และ APY ก็มีความแตกต่างกันด้วย บริษัทการลงทุนมักนำเสนอ APY เพื่อดึงดูดนักลงทุนเพราะช่วยเพิ่มมูลค่าเงินต้น ในขณะที่ผู้ให้กู้จะโน้มน้าวด้วย APR เพราะผู้ต้องการกู้สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้น้อยกว่านั่นเอง
APR หรือ APY ดีกว่ากัน?
สรุปแล้ว APR vs APY แบบไหนดีกว่ากัน? นั่นขึ้นอยู่กับว่าคุณมีจุดประสงค์อย่างไร ถ้าคุณกำลังมองหาสินเชื่อที่อยู่อาศัย คุณก็จะเลือกสถาบันการเงินที่ให้กู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด APR จะดีกว่า เพราะยิ่ง APR ต่ำ คุณก็จะเสียดอกเบี้ยน้อยลง
ในทางกลับกันถ้าคุณต้องการเปิดบัญชีออมทรัพย์หรือสนใจลงทุน เห็นได้ชัดว่าคุณย่อมมองหาสถาบันการเงินที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดีที่สุด APY จึงดีกว่า เพราะยิ่ง APY สูงเท่าไร การลงทุนของคุณจะได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณกำลังมองหาสินเชื่อหรือสนใจลงทุน คุณควรเปรียบเทียบสถาบันการเงินหรือผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอดอกเบี้ยประเภทเดียวกัน
วิธีการคำนวณ APY ใน DeFi
หลังจากที่ได้รู้จักว่า APY คืออะไรกันไปแล้ว ใน DeFi ก็มีวิธีการคิดผลตอบแทนแบบ APY เช่นกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ธนาคารทั่วไปมักจะคํานวณผลตอบแทนทบต้นเดือนละครั้ง ส่วน DeFi เสนอระยะเวลาทบต้นที่สั้นกว่าเรียกว่า APY 7 วัน คือ การคํานวณผลตอบแทนทบต้นทุกๆ 7 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
ซึ่งสาเหตุที่ DeFi คํานวณผลตอบแทนทบต้นแบบ APY 7 วันคือ
- เนื่องจากตลาดคริปโตเคอร์เรนซีมีความผันผวนและความเสี่ยงสูง ระยะเวลาทบต้นที่สั้นลงสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการลงทุนลงได้
- เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่พึ่งเริ่มต้นลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี APY 7 วันช่วยให้นักลงทุนกลุ่มนี้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงข้ึน
สำหรับสูตรคำนวณ APY มีดังนี้
APY = (1 + r/n)n – 1
โดย
r – อัตราดอกเบี้ย
n – จำนวนครั้งที่ดอกเบี้ยทบต้นต่อปี
ตัวอย่างการคำนวณ APY
หากคุณต้องการลงทุนทำ Yield Farming ใน DeFi ที่ APY คือ 5% และมีการทบต้นทุกๆ 7 วัน โดยคุณมีเงินต้นจำนวน 1,000 บาท
APY = (1 + 0.5/52.14)52.14 – 1 = 0.64 หรือเท่ากับ 6.4%
นอกจากนี้โบรกเกอร์และแพลตฟอร์มคริปโตยังมีการตอบแทนนักลงทุนด้วยแคมเปญด้วย Reward pool คือ คลังของรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับนักลงทุนอีกด้วย ทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงข้ึน
ข้อควรสังเกต
นอกเหนือจากพิจารณา APR และ APY ที่สถาบันการเงินต่างๆ นำเสนอแล้ว คุณควรพิจารณาข้อสังเกตอื่นๆ ประกอบกันด้วย ตัวอย่างเช่น
- ความถี่ในการคำนวณผลตอบแทนทบต้นหรือการจ่าย อย่างที่ได้กล่าวไปว่ายิ่งมีการทบต้นถี่มาก ผลตอบแทนก็มีโอกาสสูงขึ้นตาม
- ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เช่น ค่าดูแลรักษาบัญชี การฝากและถอนเงิน เป็นต้น คุณควรเลือกโบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์มที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่ำ เพราะมีผลกับกำไรที่คุณจะได้รับโดยตรง
- เลือกกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับคุณ อย่าลืมกำหนดเป้าหมายการลงทุนของคุณ รวมถึงความเสี่ยงที่คุณสามารถยอมรับได้
รับผลตอบแทนแบบ APY เมื่อลงทุนคริปโตที่ Mitrade
อัตราผลตอบแทน APY อาจแตกต่างกันไปในแต่ละโบรกเกอร์หรือแพลตฟอร์ม ถ้าคุณกำลังมองหาแพลตฟอร์มเทรดคริปโตที่มีความเสถียรและให้ผลตอบแทนแบบ APY โบรกเกอร์ Mitrade เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์สัญชาติออสเตรเลียที่มีความน่าเชื่อถือ โดยก่อตั้งเมื่อปี 2011 ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก Mitrade ให้บริการสินทรัพย์มากกว่า 300 รายการรวมถึงคริปโตเคอร์เรนซี และเครื่องมือเทรดขั้นสูงมากมายสำหรับเทรดเดอร์
ทำไมคุณควรเทรดกับ Mitrade?
- มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ เนื่องจากโบรกเกอร์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยหน่วยงาน ASIC ของออสเตรเลีย, CIMA ของหมู่เกาะเคย์แมน และ FSC ของมอริเชียส นอกจากนี้ยังมีมาตรการแยกเงินทุนของลูกค้าจากของโบรกเกอร์
- ไม่มีค่าคอมมิชชั่น ค่าสเปรดในการเทรดต่ำ ไม่มีค่าธรรมเนียมค้างคืน รวมถึงไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการฝากถอนด้วย
- สามารถใช้เลเวอเรจในการเทรด มีความยืดหยุ่น สามารถปรับได้เป็น 1, 2, 5, หรือ 10 เท่า และเลเวอเรจสูงสุดคือ 1:200 จึงช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของนักลงทุน
- ปริมาณในการซื้อขายต่ำ โดยเริ่มต้นเพียง 0.01 lots
- แพลตฟอร์มการเทรดใช้งานง่าย มีเครื่องมือเทรดขั้นสูงมากมาย รองรับทั้งเวอร์ชั่นเว็บเทรดเดอร์และแอพพลิเคชั่นมือถือ พร้อมด้วยระบบควบคุมความเสี่ยง มีฟังก์ชั่น stop loss หรือจำกัดการเทรดให้บริการ
- ฝ่ายบริการลูกค้าเป็นมืออาชีพ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงวันจันทร์ถึงศุกร์ รองรับการใช้งานในประเทศไทย สามารถฝากถอนเงินผ่านธนาคารไทยได้ง่าย
- มีแหล่งความรู้สนับสนุน เทรดเดอร์สามารถเข้าดูบทวิเคราะห์จาก Mitrade ได้โดยตรง รวมถึงบทความให้ความรู้เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ทุกระดับ
ขั้นตอนการเริ่มต้นเทรดคริปโตกับ Mitrade
1. ลงทะเบียน
สร้างบัญชีใหม่โดยใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น ถ้าคุณยังเป็นเทรดเดอร์มือใหม่ Mitrade มีบริการบัญชีทดลองด้วยเงินเสมือนจริง $50,000 (~฿1.7 ล้านบาท) เพื่อให้คุณสามารถฝึกฝนทักษะการเทรดได้โดยไม่มีความเสี่ยง
2. ฝากเงินเข้าบัญชี
การฝากเงินมีให้เลือกหลายช่องทาง และมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก คุณสามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้โดยตรงผ่าน QR Code, ธนาคารออนไลน์ในไทย รวมถึง Skrill โดยที่ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ
3. เริ่มต้นเทรด
สำหรับการเทรดคริปโต โบรกเกอร์ Mitrade นำเสนอแพลตฟอร์มการเทรดที่มีอินดิเคเตอร์ที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกใช้ เช่น Simple Moving Averages (SMA), Exponential Moving Averages (EMA), Moving Average Convergence Divergence (MACD), Relative Strength Index (RSI) และอีกมากมาย พร้อมเครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มความแม่นยำการคาดการณ์ให้มากขึ้น
สรุป
การคำนวณ APR และ APY ช่วยให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบผลตอบแทนหรือการจ่ายจากสถาบันการเงินได้ชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออมทรัพย์ การลงทุน หรือการขอสินเชื่อ แล้ว APR กับ APY ต่างกันอย่างไร? ข้อแตกต่างหลักอยู่ที่การคำนวณดอกเบี้ยทบต้น APR คืออัตราผลตอบแทนแบบคงที่ ในขณะที่ APY คืออัตราผลตอบแทนแบบทบต้น และยิ่งทบต้นถี่เท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเท่านั้น
เมื่อเปรียบเทียบ APR vs APY ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการทำธุรกรรมการเงินประเภทใด ถ้าคุณกำลังขอสินเชื่อ คุณควรมองหาสถาบันการเงินที่นำเสนอ APR ต่ำเพื่อจะได้จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง แต่ถ้าคุณสนใจลงทุน APY ที่สูงจะช่วยให้คุณมีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ซึ่งโบรกเกอร์คริปโตอย่าง Mitrade ก็นำเสนอ APY ในการลงทุนคริปโต โดยมีระยะเวลาทบต้นที่สั้นกว่าธนาคารทั่วไป เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ไปจนถึงนักลงทุนมืออาชีพที่ต้องการเพิ่มกำไรจากการลงทุน
การอ่านที่แนะนำ
- Bitcoin เล่นยังไง รวมทุกเรื่องที่มือใหม่ต้องรู้
- สรุปโปรแกรมขุด Bitcoin และเว็บขุดบิทคอยน์ฟรี จ่ายจริง
- 1 ETH เท่ากับกี่บาท? ETH ราคาบาท|แนวโน้ม Ethereum 2565
- สรุป 22 เว็บเทรด Bitcoin ต่างประเทศและไทยที่ยอดนิยม ปี 2565
- อ่านเพิ่มเติม
References: