Overbought Oversold คืออะไร? คำศัพท์ Forex
Overbought คือสภาวะตลาดที่แรงซื้อผลักราคาขึ้นสูงเกินไป ในขณะที่ Oversold คือสภาวะตลาดที่แรงขายกดราคาให้ต่ำเกินไป, RSI และ Stochastic ชี้จุด Overbought หรือ Oversold ก่อนราคาจะกลับตัวสู่มูลค่าที่แท้จริง
กดซื้อขายเมื่อราคาเริ่มเปลี่ยนทิศทางสามารถสร้างผลตอบแทนที่คาดหวัง ต้องเริ่มจากเข้าใจ Overbought และ Oversold โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานอย่าง P/E เจาะจงหุ้นที่ Overbought หรือ Oversold แล้วเข้าออกให้ตรงจุดด้วยเทคนิคอย่าง RSI และ Stochastic
Key Takeaways
- Overbought คือภาวะที่ราคาเสนอซื้อพุ่งขึ้นสูงจนเชื่อว่าสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ๆ และนักเทรดจะชะลอการส่งออร์เดอร์ ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลง
- Oversold คือภาวะที่มีการเสนอขายหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ในมูลค่าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่ามูลค่าตลาด ทำให้ราคามีแนวโน้มกลับมาเพิ่มสูงขึ้นจากการเริ่มช้อนซื้อ
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อย่าง P/E Ratio ชี้หุ้นที่มูลค่าพื้นฐานไม่สัมพันธ์กับตลาด
- RSI คือตัวบ่งชี้ด้วยค่า 0-100 ว่าหุ้นกำลังถูกซื้อขายในสภาวะ Oversold (RSI <30) หรือ Overbought (RSI >70)
- Stochastic Oscillator คือตัวบ่งชี้ที่ประกอบด้วยสองค่าในแต่ละจุดราคาที่แสดงผลการปรับเปลี่ยนต่อเนื่องเป็นกราฟ โดยหากเส้น %K ตัดสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยคือ %D (เมื่อ %K <20) จะชี้สัญญาณ Oversold หรือหาก %K ตัดมาต่ำกว่า %D (เมื่อ %K >80) ชี้สัญญาณ Ovebought
ภาวะราคาของหุ้นตัวหนึ่งที่ทำ Overbought บ่งบอกถึงราคาที่ขยับขึ้นอย่างร้อนแรง ซึ่งหากนักเก็งกำไรกำลังได้รับอิทธิพลจากข่าวสารที่ดีในตลาด ราคาของหุ้นสามารถพุ่งขึ้นได้อีก จะเรียกว่าเป็น Overbought Bullish
แต่ขณะเดียวกัน ราคาที่พุ่งสูงเกินไปจะทำให้เกิดมุมมองวิพากษ์มูลค่าตลาดของหุ้นว่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เกี่ยวเนื่องกับการทำกำไรจากการดำเนินการและการจ่ายเงินปันผลของบริษัทอ้างอิง เป็นช่วงอ่อนไหวที่นักเก็งกำไรอาจลดการเปิดออเดอร์เสนอซื้อลง และมีออเดอร์ขายเพิ่มขึ้น ราคาของหุ้นสามารถชะลอความร้อนแรง และปรับเปลี่ยนสู่ทิศทางตรงกันข้ามคือขาลง จะเรียกว่า Overbought Bearing
1. Overbought คืออะไร?
ส่วนภาวะ Oversold จะเกิดขึ้นเมื่อราคาขยับลงมากเกินไป อาจมีอิทธิพลมาจากความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จนโยกย้ายเงินลงทุนไปอยู่ในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนดีกว่า เมื่อราคาลดลงถึงจุดหนึ่ง ก็อาจจะกลับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกตามมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นหรือสินทรัพย์นั่นเอง
การจับสัญญาณได้ว่า Overbought และ Oversold เกิดขึ้น เป็นจังหวะที่นักลงทุนบริหารความเสี่ยงและความคาดหวังได้ โดยสามารถขายเพื่อทำกำไรจาก่ส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้น หรือซื้อคืนเพื่อทำกำไรจากการชอร์ตเซลล์ก่อนหน้า
Overbought คือ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ในการอธิบายเมื่อหุ้นในตลาดมีราคาดีดสูงขึ้นด้วยออเดอร์ซื้อจำนวนมาก โดยมีเหตุมาจากกระตุ้นด้วยข่าวหรือสถานการณ์บางประการ ซึ่งในจิตวิทยาการลงทุน เมื่อราคาขยับสูงขึ้นจะสร้างความสนใจให้แก่ตลาดและกดดันให้ฝูงชนเริ่มต้องการซื้อบ้างเพื่อหวังทำกำไร เป็นแรงดันให้ราคาหุ้นยิ่งพุ่งขึ้นไปอีกต่อเนื่องจนเหนือกว่าระดับที่สามารถอธิบายด้วยหลักการลงทุนที่มีเหตุมีผล
2. Oversold คืออะไร?
หมายความว่าอย่างไรเมื่อหุ้นมีการขายเกินไป?
Oversold คือ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ในการอธิบายเมื่อหุ้นในตลาดมีราคาต่ำลงด้วยออเดอร์ขายจำนวนมาก ลักษณะการเกิด Oversold เป็นไปตามหลักจิตวิทยาการลงทุนเช่นกัน แต่ด้วยแรงจูงใจหลักคือการขาดความเชื่อมั่นในมูลค่าของหุ้น โดยการเทขายอย่างต่อเนื่องจะทำให้ราคาลดลงต่ำกว่าระดับราคาที่เหมาะสมกับมูลค่าของบริษัทที่ยังเปิดดำเนินการ
ราคาหุ้นในระดับที่สัมพันธ์กับภาวะ Overbought จะสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ส่วนภาวะ Oversold จะต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น การวัดหามูลค่าที่แท้จริง สามารถทำได้โดยใช้การวิเคราะห์ทางพื้นฐานที่เน้นการเทียบมูลค่าการดำเนินการต่าง ๆ เป็นสัดส่วน (Ratio) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าสองค่าหรือมากกว่านั้นว่าสอดคล้องหรือมีเพียงพอ ค่าสัดส่วนมีหลายรูปแบบ เช่น P/E Ratio P/BV Ratio EV/EBITDA Ratio เป็น แต่ละรูปแบบมีสูตรคำนวณเปรียบเทียบต่างกัน
ค่าสัดส่วนพื้นฐานที่นิยมใช้พิจารณามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นแบบองค์รวม คือ P/E Ratio
สูตรคำนวณ P/E = ราคาหุ้น/กำไรสุทธิต่อหุ้น
โดยจะใช้สูตรนี้ได้ มีข้อจำกัดว่าธุรกิจกำลังทำกำไรอยู่ โดยค่าที่คำนวณได้ P/E ต้องไม่เกินการขยายตัวของกำไรโดยเฉลี่ย เช่นกำไรโตโดยเฉลี่ย 10% ก็ไม่ควรมีค่า P/E สูงกว่า 10 ไม่เช่นนั้นก็คือราคาสูงจนแพงเกิน ซึ่งก็คือมี Overbought เกิดขึ้น หรือหาก P/E มีค่าต่ำกว่ากำไรโตโดยเฉลี่ยค่อนข้างมาก ก็สื่อว่ามี Oversold เกิดขึ้น ค่า P/E ปกติจะมีรายงานไว้ตามหน้าเว็บไซด์ข้อมูลหุ้นทั่วไป
ทั้งนี้การยืนยัน Overbought และ Oversold โดยเฉพาะในการเทรดระยะสั้นจะเป็นการดีหากใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) ที่เป็นการใช้กราฟที่สร้างขึ้นจากค่าพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงปริมาณการซื้อขาย หรือความผันผวนของราคามาร่วมด้วย ซึ่งการใช้ Technical Analysis มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์แม้แต่กับหุ้นที่บริษัทไม่มีกำไร
หากลองพิจารณาหุ้นสหรัฐ 5 รายการในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 เพื่อสรุปหาสัญญาณ Overbought หรือ Oversold อย่างง่ายในระยะยาว
- Microsot (MSFT)
ราคาปิดที่ $256.72 ค่า P/E รายวัน คือ 26.80
การเติบโตของกำไร 38.37% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021
ค่า P/E ไม่ได้อยู่สูงกว่าการเติบโตของกำไร และไม่ได้อยู่่ต่ำกว่ามาก ดังนั้นจึงไม่ได้มีสัญญาณของ Overbought หรือ Oversold ที่ชี้ชัด
- Apple (AAPL)
ราคาปิดที่ $150.17 ค่า P/E รายวัน คือ 24.38
การเติบโตของกำไร 64.92% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021
ค่า P/E อยู่ต่ำกว่าการเติบโตของกำไรมากกว่าครึ่ง ดังนั้นราคาจึงส่งสัญญาณ Oversold
- Amazon (AMZN)
ราคาปิดที่ $113.55 ค่า P/E รายวัน คือ 54.82
การเติบโตของกำไร 56.41% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021
ค่า P/E อยู่ต่ำกว่าการเติบโตของกำไร แต่ถือว่ายังไล่เลี่ยกัน ดังนั้นจึงไม่ได้มีสัญญาณของ Overbought หรือ Oversold ที่ชี้ชัด
- Alphabet Inc (GOOG)
ราคาปิดที่ $2,255.34 ค่า P/E รายวัน คือ 20.40
การเติบโตของกำไร 88.81% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021
ค่า P/E อยู่ต่ำกว่าการเติบโตของกำไรมากกว่าครึ่ง ดังนั้นราคาจึงส่งสัญญาณ Oversold
- Waltmart (WMT)
ราคาปิดที่ $129.07 ค่า P/E รายวัน คือ 27.76
การเติบโตของกำไร 1.21% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021
ค่า P/E อยู่สูงกว่าการเติบโตของกำไรมากกว่าครึ่ง ดังนั้นราคาจึงส่งสัญญาณ Overbought
การมีสัญญาณของ Overbought มีน้ำหนักโอนเอียงให้ตีความว่าราคาจะปรับเปลี่ยนทิศทางเป็นขาลง และกรณีของ Oversold มีน้ำหนักโอนเอียงมากกว่าราคาจะปรับเป็นทิศทางขาขึ้น เพราะราคาของหุ้นหนึ่ง ๆ มีแนวโน้มจะปรับเข้าหามูลค่าที่แท้จริงของตนเอง
หากดูกราฟระดับราคาควบคู่ อาจจะสับสนได้เพราะในกรณีของ Oversold ไม่จำเป็นที่จะเห็นว่ากราฟปรับราคาดิ่งลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ระดับราคาที่แสดงอยู่ มีนัยยะสำคัญคือน้อยกว่ามูลค่าที่แท้จริง และวันหนึ่งราคาจะต้องปรับขึ้น ส่วนกรณีของ Overbroght ไม่จำเป็นที่จะเห็นว่ากราฟราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสำคัญที่นัยยะสำคัญว่าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง และวันหนึ่งราคาจะต้องปรับลง
ความผันผวนของราคา(Price Volatility)และ Overbought Oversold 20%
การผันผวนของราคา คือระดับการเปลี่ยนแปลงเขิงสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่เพิ่มหรือค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่ลดลง คำนวณเปรียบเทียบจากราคาปิด ซึ่งการตั้งค่าพื้นฐานคือการเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่เพิ่มหรือส่วนต่างราคาที่ลบย้อนไป 14 แท่งเทียน ซึ่งค่าความผันผวนของราคาสามารถแสดงผลในรูปของกราฟ และแสดงคู่กับกราฟราคา
หากต้องการหลีกเลี่ยงสัญญาณหลอกในการเทรด โดยเฉพาะการเทรดระยะสั้นในผลิตภัณฑ์ CFD (Contract for Difference) แนะนำว่าควรตรวจสอบค่าความผันผวนของราคาโดยพิจารณาคู่กันไปกับกราฟราคาที่แสดงผลสี่ชั่วโมงขึ้นไป หรือเพื่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำขึ้น อาจสลับดูเทียบกับกราฟราคารายวันหรือนานกว่านั้น เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นจริง นั่นคือแนวโน้มราคาที่ปรับเปลี่ยนไปในช่วงสั้น ๆ มักได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มราคาในระยะยาว
Overbought หรือ Oversold ในระยะสั้นจะไม่ใช่สัญญาณหลอก หากในระยะยาว การกลับตัวของราคาได้เกิดขึ้นแล้ว การผันผวนของราคาแม้จะขึ้น ๆ ลง ๆ แต่ถ้าไม่มีปัจจัยที่ส่งอิทธิพลมากพอก็จะไม่เปลี่ยนแปลงแนวโน้มในระยะยาว เช่น Overbought เกิดขึ้นแล้ว และเชื่อว่าขาลงจะเกิดขึ้น ลองตรวจสอบในระยะยาวว่าแนวโน้มเป็นขาลงอยู่แล้วใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ผลสุดท้ายความผันผวนที่เห็นน่าจะจบลงที่ระดับราคาลดลงไปจริง ๆ
ค้นหาช่วง Overbought และ Oversold ตามตัวบ่งชี้ 20%
1.Relative strength index RSI
คืออะไร
วิธีใช้เครื่องมือ RSI (พร้อมภาพหน้าจอ mitrade)
2. Stochastic
คืออะไร
วิธีใช้เครื่องมือ Stochastic Oscillator (พร้อมภาพหน้าจอ mitrade)
- Relative Strength Index (RSI)
สูตรคำนวณ RSI = 100 – (100/(1+RS))
โดยค่า RSI จะมาจากค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่เพิ่มหารด้วยค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่ลด
ค่าดัชนีเมื่อคำนวณตามสูตรจะอยู่ระหว่าง 0-100
กรณีของ Overbought คำนวณจากค่าเฉลี่ยราคาที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับราคาที่อ้างอิงจากวันเริ่มต้นการคำนวณ และได้ค่าดัชนีสูงถึง 70%
กรณีของ Oversold คำนวณจากค่าเฉลี่ยราคาที่ลดลงเมื่อเทียบกับราคาที่อ้างอิงจากวันเริ่มต้นการคำนวณ และได้ค่าดัชนีต่ำกว่า 30%
ช่วงค่าระหว่าง 30-70 จะเป็นค่าปกติที่ไม่มีสัญญาณของการซื้อขายที่มากเกินไป
หากเปิดใช้ตัวบ่งชี้ หรือเครื่องมือทางเทคนิคในกลุ่ม Indicators แล้ว จะพบแถบล่างที่แสดงกราฟค่า RSI และมีตัวเลขกำกับค่าทางด้านขวามือดังรูปที่ปรากฏต่อไป
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
วิธีใช้เครื่องมือ RSI ในหน้าแพลตฟอร์มซื้อขายของ Mitrade
- เลือกเมนู Indicator จะพบกับหน้าต่างให้กรอกชื่อเครื่องมือบ่งชี้ที่ต้องการ
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
- กรอกชื่อ Indicator คือ Relative Strength Index หรือ RSI ในช่องค้นหา Indicator
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
- เลือก Indicator จากรายการ ทำตามตัวอย่างนี้ เลือก Relative Strength Index
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
ค่า RSI บอกอะไรได้อีกนั้น กล่าวคือ นอกจากการดูจากค่าดัชนี ที่ 30 หรือ 70 แล้ว ตัว RSI ยังสามารถแสดงรูปแบบที่เรียกว่า RSI Divergence ออกมา โดยมีสองลักษณะ คือ
- Bullish Divergence RSI
ซึ่งจะมองให้ออกจำเป็นต้องอาศัยการลากเส้น Trend ที่จุดราคาต่ำสุดสองจุดเชื่อมต่อกันบนกราฟราคา แล้วลากเส้น Trend บนกราฟ RSI เชื่อมจุดที่ค่า RSI ต่ำสุดสองจุด บนจุดเวลาแสดงผลเดียวกัน เพื่อดูเปรียบเทียบ ถ้าพบว่าเส้น Trend บนกราฟ RSI มีทิศทางขัดแย้งกับเส้น Trend บนกราฟราคาที่เป็นขาขึ้น ถือว่าเป็นสัญญาณชี้บอกว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนทิศทาง ถ้าราคาเป็นขาลงอยู่ ก็จะกลับเป็นขาขึ้น
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
- Bearish Divergence RSI
ลากเส้น Trend ที่จุดราคาสูงสุดสองจุดเชื่อมต่อกันพร้อมกับลากเส้น Trend บนกราฟ RSI เชื่อมจุดที่ค่า RSI สูงสุดสองจุด บนจุดเวลาแสดงผลเดียวกัน เพื่อดูประกอบกัน ถ้าพบว่าเส้น Trend บนกราฟ RSI มีทิศทางขัดแย้งกับเส้น Trend บนกราฟราคาที่เป็นขาขึ้น ถือว่าสัญญาณชี้บอกว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
การอ่านค่าของ RSI มักจะถูกนำไปสับสนกับการอ่านค่าของ Moving Average Convergence Divergence (MACD) ซึ่งที่มาหรือสูตรคำนวณเพื่อให้ได้ค่าที่ใช้งานจะแตกต่างกัน ดังนั้นแม้จะดูคล้ายคลึงแต่การอ่านค่าจะแตกต่างกัน การใช้ RSI เพื่อเป็นสัญญาณสู่ตลาดขาขึ้นหรือลง เพียงหาความขัดแย้งระหว่าง Trend Line บนกราฟราคาและกราฟ RSI ก็เพียงพอ หรือเพื่อความมั่นใจนักเทรดอาจใช้ MACD หรือตัวบ่งชี้อื่น ๆ ควบคู่ด้วย
- Stochastic Oscillator (STO)
ขณะที่ราคาหุ้นวิ่งอยู่ในกรอบไซต์เวย์ซึ่งเป็นกรอบแคบ ๆ ผันผวนไปมา ไม่ได้แสดงแนวโน้มเป็นขาขึ้นหรือขาลงชัดเจน สามารถนำ STO Indicator มาใช้เพื่อวิเคราะห์หาแนวโน้มและเก็งกำไรได้
โดยลักษณะกราฟ STO จะประกอบด้วยเส้นกราฟสองสีที่ทิศทางผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของราคาแต่ทั้งสองเส้นแสดงระดับความผันผวนที่แตกต่างกัน เพราะเส้นหนึ่งคำนวณจากการเติบโตของราคาโดยเทียบสัดส่วนระหว่างผลต่างราคาปิดกับราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา และผลต่างราคาสูงสุดกับราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา เรียกว่า %K ขณะที่อีกเส้นหนึ่งนำค่าเฉลี่ยของ %K มาแสดง เรียกว่า %D
- %K (สีน้ำเงิน) คือเส้น Stochastic
- %D (สีแดง) คือเส้นค่าเฉลี่ย %K
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
สูตรคำนวณ STO
%K = [(ราคาปิด – ราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา)/(ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา)] x100
%D = ค่าเฉลี่ยของค่า %K
Fast Stochastic คือ %K
Slow Stochastic คือ %D
วิธีใช้เครื่องมือ Stochastic Oscillator ในหน้าแพลตฟอร์มซื้อขายของ Mitrade
- กดที่เมนู Indicators แล้วกรอกค้นหา Stochastic จากนั้นกดเลือกจากรายการตัวเลือกที่ปรากฏ
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
- จะพบเส้นกราฟ STO ขึ้นในแถบด้านล่างของกราฟราคา มีลักษณะดังในรูปต่อไปนี้
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
กรณี Overbought ค่า %K>80 และ %K ตัดลงมาต่ำกว่า %D
จากภาพต่อยอดจากการวิเคราะห์ P/E มองว่าน่าจะเกิด Overbought ที่ไม่ใช่สัญญาณหลอก เมื่อตรวจดูในกรอบเวลาอ้างอิงเป็นเดือนบนราคาหุ้น WMT พบว่าราคาหลังพบสัญญาณกลับตัวจาก STO มีการยืนยันทิศทางเป็นการปรับลดลงจริง ๆ
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
กรณี Oversold ค่า %K<20 และ %K ตัดขึ้นเหนือ %D
จากภาพต่อยอดจากการวิเคราะห์ P/E มองว่าน่าจะเกิด Oversold ที่ไม่ใช่สัญญาณหลอก เมื่อตรวจดูในกรอบเวลาอ้างอิงเป็นเดือนบนราคาหุ้น GOOG พบสัญญาณกลับตัวจาก STO Indicator ซึ่ง %K อยู่เหนือ %D อย่างต่อเนื่อง หลายครั้งด้วยกัน แม้ในพื้นที่ 20-80 เป็นสัญญาณว่าระยะยาว หุ้นกำลังกลับสู่ขาขึ้นหลังจากอยู่ในกรอบไซต์เวย์ไปแล้วในชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/
สรุป 10%
การหาสัญญาณ Overbought และ Oversold ช่วยทำให้จับจังหวะเปิดออเดอร์ได้ดี โดยในเบื้องต้นเพื่อความมั่นใจในการเก็งกำไร อาจจะทำการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานเข้าช่วยก่อนเพื่อชี้หุ้นที่เปิดโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างแน่นอน การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพียงอย่างเดียวจะเหมาะกับการสั่งสมความมั่งคั่งผ่านการลงทุนระยะยาวในหุ้นปันผล แต่การลงทุนในหุ้นปันผลจะต้องใช้เงินทุนเท่ากับมูลค่าหุ้นในตลาด การลงทุนในอนุพันธ์อย่าง CDF ผ่านโบรกเกอร์สามารถใช้ต้นทุนน้อยกว่าเพื่อการเก็งกำไรด้วยสิทธิประโยชน์ของ Leverage ที่ทบเท่ามูลค่าของเงินทุนได้ ซึ่งการใช้ความรู้เครื่องมือบ่งชี้อย่าง RSI และ STO จะช่วยเก็งกำไรในการลงทุน CDF ให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น
บทความนี้เป็นการให้ความรู้ เพื่อให้นำไปประกอบการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจลงทุน ไม่ได้เป็นการเสนอแนะการลงทุนในหุ้นตัวใดหรือสินทรัพย์อื่นใดเป็นการเฉพาะ