RSI คืออะไร ใช้ระบุแนวโน้มราคาสินทรัพย์ได้อย่างไรบ้าง
RSI คือเครื่องมือทางเทคนิค มีค่าดัชนี 1-100 บอกถึงภาวะซื้อมากเกินไปที่จะเป็นเหตุให้แรงซื้อลดลงและราคาปรับทิศทางเป็นขาลง หรือภาวะขายมากเกินไปที่เป็นเหตุให้แรงขายลดลงและราคาปรับทิศทางเป็นขาขึ้น การรู้ทันสภาวะซื้อขายด้วย RSI เครื่องมือที่ให้สัญญาณ Oversold หรือ Overbought และเทคนิค RSI Divergence ที่ใช้คู่กันสำหรับเปิดออเดอร์ได้ตรงจุดเพื่อทำกำไร
【Key Takeaways】
- RSI คือเครื่องมือทางเทคนิคที่ส่งสัญญาณให้เปิดออเดอร์เพื่อทำกำไร
- ค่าดัชนี RSI มีค่า 0-100 โดยค่า 30 ลงไปเป็นช่วงที่บอกถึง Oversold ส่งสัญญาณการกลับตัวของราคาสู่ขาขึ้น ส่วนค่า 70 ขึ้นไปเป็นช่วงที่บอกถึง Overbought เป็นสัญญาณการกลับตัวของราคาสู่ขาลง
- การวิเคราะห์โดยใช้ RSI เพื่อเปิดออเดอร์ ควรใช้แนวโน้มเพื่อมองหาสัญญาณ RSI Divergence ประกอบ แทนการพิจารณาเพียงค่าดัชนี 30 หรือ 70 เป็นสัญญาณ
- RSI Divergence คือเทคนิคที่ดูแนวโน้มของเส้นค่า RSI ว่ามีทิศทางสวนกับราคาควบคู่กับค่า RSI ถ้าเกิด Bullish Divergence แนวโน้ม RSI เป็นขาขึ้นสวนทางกับแนวโน้มราคาเป็นขาลง ส่วน Bearish Divergence แนวโน้ม RSI เป็นขาลงสวนทางกับแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น
- ตอนเกิด Bullish Divergence ควรเปิดออเดอร์ Buy แต่ถ้าพบ Bearish Divergence ควรเปิดออเดอร์ Sell โดยเน้นการใช้งานสำหรับกรอบระยะเวลาที่มากกว่า 4 ชั่วโมง เพราะ RSI ใช้ในกรอบระยะเวลาอ้างอิงบอกราคาระยะสั้นจะพบสัญญาณหลอกบ่อย
บทนำ
การเทรด FOREX กับทางโบรกเกอร์ หากนักเทรดคาดการณ์แนวโน้มของทิศทางที่ราคาจะเคลื่อนไหวไปได้สำเร็จ กด “Buy” แล้วราคาขึ้น หรือกด “Sell” แล้วราคาลง นักเทรดจะทำกำไรได้ทันทีที่ปิดออเดอร์ ซึ่งขั้นตอนการเทรดดังที่กล่าวมานี้ไม่มีความซับซ้อน แต่ในความเรียบง่ายกลับมีงานยากอยู่ หากนักเทรดเคยผ่านการลองศึกษาขั้นตอนการทำกำไรหรือเคยใช้บัญชีทดลองเพื่อเรียนรู้การเทรดมาก่อน ความยากที่รู้สึกได้จะสามารถสรุปออกมาในรูปแบบคำถาม 2 ข้อ
- ควรเปิดออเดอร์เมื่อไร
- ควรปิดออเดอร์เมื่อไร
Relative Strength Index หรือ RSI คือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สามารถตอบคำถามทั้งสองข้อได้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางเทคนิคนับหลายสิบตัวที่เราสามารถศึกษาต่อไปได้เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการทำกำไร
RSI นี้จะรวมอยู่ในตัวเลือกเครื่องมือพร้อมใช้ที่ทางโบรกเกอร์จัดเตรียมไว้ให้ในแพลตฟอร์มการเทรดโดยทั่วไป
RSI คืออะไร
RSI คือเส้นกราฟที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ถูกสร้างขึ้นจากตัวเลขราคาปิดซึ่งนักเทรดสามารถตรวจสอบได้จากกราฟราคาที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา หรือราคาที่ขอบบนของกราฟแท่งเทียนแต่ละแท่ง นำมาเข้าสูตรคำนวณซึ่ง เจ. เวลล์ส ไวล์เดอร์ จูเนียร์ เซียนหุ้นนักลงทุนเป็นผู้พัฒนาขึ้น โดยการคำนวณแต่ละค่า RSI จะมีพื้นฐานมาจากการคำนวณแท่งเทียนสิบสี่แท่งหรือมากกว่านั้นย้อนหลัง ค่าที่คำนวณได้ในลักษณะค่าเฉลี่ยนั้นจะลดการรบกวนข้อมูลจากความผันผวนลง และนำไปสู่การพยากรณ์ที่ดีขึ้น
ด้วยค่า RSI มาจากสูตร จึงเหมือนกับการตีแผ่ข้อมูลราคาออกมาในอีกมุมมอง เสมือนเรากำลังมองเหตุการณ์เดียวกันจากอีกมุม ไม่ต่างจากที่เราขยับมาอยู่ด้านหน้าสัญญาณไฟจราจร จะทำให้เราเห็นไฟเหลืองหรือไฟแดงที่ทำให้เรารู้ตัวว่ารถที่จอดอยู่จะออกวิ่ง หรือรถที่วิ่งอยู่จะต้องจอดลง สัญญาณที่พบได้จาก RSI มักชี้ระบุถึงสัญญาณการกลับตัวหรือเปลี่ยนทิศทางของราคา
ในมุมมองของ เจ. เวลล์ส ไวล์เดอร์ จูเนียร์ เขาแปลงข้อมูลราคาที่มีขึ้นหรือลงเพื่อให้ออกมาเป็นดัชนีที่มาค่า 0 ถึง 100 หากค่าสูงกว่า 70 แสดงว่าราคากำลังขึ้นสูงจนเกินไป ซึ่งสูงเกินไปในที่นี้คือคนเริ่มคิดว่าราคาไม่คุ้มผลตอบแทน หรือมีความเป็นไปได้ต่ำลงที่จะทำกำไรได้เมื่อราคาเหนือไปกว่าราคานั้นแล้ว ส่งสัญญาณแนวโน้มราคาพลิกตัวเป็นขาลง หรือในทางตรงกันข้าม หากค่าต่ำกว่า 30 แสดงว่าราคากำลังลงต่ำจนเกินไป ต่ำในที่นี้คือคนทำการขายหรือมีความคิดที่จะขาย เริ่มขายจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว โดยปกติจะมีคนที่มารอช้อนซื้อเพราะคิดว่าราคาต่ำพอแล้วที่จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้ ดังนั้นค่า 30 จึงเป็นค่าที่ชวนคิดว่าการช้อนซื้อจะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนแรงซื้อมีอิทธิพลมากและพลิกแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น
สูตรคำนวณ RSI
แม้คุณสามารถเปิดใช้อินดิเคเตอร์ RSI ได้ง่าย ๆ จากเครื่องมือดูกราฟอย่าง MT4, MT5 หรือ Tradingview ด้วยการไปที่ตัวเลือกอินดิเคเตอร์ แล้วมองหา RSI แต่การรู้ว่าสูตรคำนวณ RSI มีที่มาที่ไปอย่างไร จะช่วยให้การเทรดของคุณมีความเป้นระบบระเบียบมากขึ้น
Photo by Greg Rosenke on Unsplash
RSI = 100 – [100 / (1+ ค่าเฉลี่ยราคาที่เพิ่มขึ้น/ค่าเฉลี่ยราคาที่ลดลง)]
- ค่าเฉลี่ยราคาที่เพิ่มขึ้น (Average Gain) คือ ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่เป็นบวก ค่ามาตรฐานคือดูย้อนหลังจาก 14 แท่งเทียนเอาเฉพาะอัตราผลตอบแทนที่เป็นบวกมาคิด
- ค่าเฉลี่ยราคาที่ลดลง (Average Loss) คือ ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนที่เป็นลบ ค่ามาตรฐานคือดูย้อนหลังจาก 14 แท่งเทียนเช่นกัน เอาเฉพาะอัตราผลตอบแทนที่เป็นลบมาคิด
ยกตัวอย่างการคำนวน ในรอบ 14 วัน พบ 7 วันมีผลตอบแทนเป็นบวกเมื่อเทียบราคาปิดกับราคาเปิด คำนวณผลตอบแทนเฉลี่ยออกมาได้ 3% อีก 7 วันพบว่ามีผลตอบแทนเป็นลบเมื่อเทียบราคาปิดแล้วน้อยกว่าราคาเปิด คำนวณผลตอบแทนเฉลี่ยออกมาได้ 2% จะได้
ค่าเฉลี่ยราคาที่เพิ่มขึ้น/ค่าเฉลี่ยราคาที่ลดลง = (3%/14)/(2%/14) = 0.21/0.14 = 1.5
RSI = 100 – [100/( 1+1.5)] = 100-40 = 60
Overbought (ซื้อมากเกินไป) และ Oversold (ขายมากเกินไป) คืออะไร
พฤติกรรมหรือความคิดของผู้คนในตลาดจะสะท้อนออกมาผ่านราคาที่พวกเขาเสนอขาย ถ้าบรรดานักลงทุนกำลังตื่นตระหนักหรือหวาดระแวง พวกเขาจะเทขาย นั่นมีผลทำให้ฝั่งผู้ขายมีอิทธิพลมาก และผลักราคาให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะคนที่จะถือออเดอร์ที่เปิดไว้ต่อก็กลัวว่าอาจพลาดโอกาสทำกำไร รีบชิงสู้ขายไปดีกว่า
อย่างไรก็ตาม เพราะสิ่งของจริง ๆ ที่่ราคานำมาใช้อ้างอิงในตลาดเทรดเพื่อหากำไรจากการเก็งส่วนแบ่งราคา ไม่ว่าจะเป็นคู่สกุลเงินระหว่างประเทศ สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น ดัชนีหุ้น หรือคริปโตเคอร์เรนซี ยังเป็นที่ต้องการอยู่ พอราคาของสิ่งเหล่านี้ตกลงไปเรื่อย ๆ ก็จะมีคนแสดงความสนใจซื้อ เพราะสิ่งของพวกนี้มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสำหรับพวกเขา
ภาวะ Oversold นั้น คือราคาของสินทรัพย์หรือในที่นี้คือมูลค่าแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศ (FOREX) ลดลงมากจนดูเหมือนถูก และจะดึงดูดให้มีคนที่คิดว่าการซื้อและถือเก็บไว้จะสามารถทำกำไรให้ได้ในโลกของความเป็นจริง ขณะที่นักเทรดเองเข้าใจพฤติกรรมตามหลักจิตวิทยานี้ มนุษย์ในระบบการค้าจะเข้าซื้อถูกและขายแพง จึงมีพฤติกรรมส่งออเดอร์ Buy เพิ่มมากขึ้นในสภาวะ Oversold ที่ค่า RSI ลดต่ำไปถึง 30 จึงถือว่า RSI ถึง 30 ลงไป เป็นสัญญาณให้เฝ้าระวังเพราะแรงซื้อจะค่อย ๆ ฟื้นฟูกลับมา และแนวโน้มราคาจะกลับตัวเป็นขาขึ้น
Photo by Austin Distel on Unsplash
ภาวะ Overbought เป็นภาวะตรงกันข้าม นั่นคือแรงซื้อของคนเพิ่มมากขึ้นเพราะถูกกระตุ้นให้เข้าใจถึงความขาดแคลนในโลกของความเป็นจริงและต้องสะสมไว้ หรือเพราะด้วยเหตุความต้องการส่งออกของบางประเทศหรือการต้องการเดินทางออกนอกประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้องแลกเงินมากขึ้น รวมไปถึงภาวะสงครามหรือการขาดเสถียรภาพทางการเมืองหรือเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้คนอยากหันไปลงทุนในสิ่งที่รู้สึกว่าปลอดภัยหรือคุ้มค่ากว่า แต่เพราะความต้องการนี้เอง ได้ดูดซับเอาอุปทาน (ออเดอร์เสนอขาย) ไปมากจนเหลือน้อย ราคาต่อหน่วยในการเปิดออเดอร์จึงแพงขึ้นเรื่อย ๆ
ใน Overbought ที่ค่า RSI เพิ่มสูงไปถึง 70 แสดงว่าแรงซื้อเริ่มน้อยลง เพราะอุปทานที่น้อยลงได้ผลักดันราคาให้เพิ่มสูง จนหลาย ๆ คนรู้สึกว่าราคาสูงเกินไปและเสี่ยงจะทำกำไรจากระดับราคาที่สูงไปนั้นไม่ได้ หรือในโลกของความเป็นจริงราคาซื้อที่ถูกไปอาจสร้างการขาดทุนสำหรับนักลงทุนที่เป็นภาคการผลิตและส่งออก แล้วเมื่อผู้ขายเห็นว่ามีผู้ซื้อน้อยลง รวมถึงผู้ขายบางส่วนคือผู้ลงทุนในช่วง Oversold ที่ถ้าขายในช่วง Overbought จะได้กำไร จึงเป็นผลให้เริ่มมีการขายในราคาที่ลดลง ดังนั้นค่า RSI ถึง 70 ขึ้นไป เป็นสัญญาณให้เฝ้าระวังเพราะแรงขายจะค่อย ๆ เพิ่มกำลังมาก และแนวโน้มราคากลับตัวลดลง
โปรดจำไว้ให้ขึ้นใจ
RSI = 70 สัญญาณขาลง
RSI = 30 สัญญาณขาขึ้น
RSI ใช้อย่างไร
มาถึงการตอบคำถามที่เกริ่นไว้แล้วทั้ง 2 ข้อให้กระจ่าง
- จากค่า RSI จะเปิดออเดอร์ได้เมื่อไร
เริ่มต้นจากการเห็น RSI แตะที่ 30 หรือ 70 จากนั้นให้ตรวจสอบเพิ่ม ผู้ใช้ RSI ต้องมองหาสัญญาณที่เรียกว่า RSI Divergence หรือการใช้เส้น Trendline เข้ามาดูเฉพาะแนวโน้มของเส้น RSI เอง และแนวโน้มของ RSI ขัดแย้งกับแนวโน้มของราคา ความขัดแย้งนี้เองที่สรุปเรียกกันว่า Divergence
เมื่อพบเส้นแนวโน้มของ RSI เป็นขาขึ้น แต่เส้นแนวโน้มราคาเป็นขาลง เท่ากับว่าราคาเฉลี่ยนั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะเห็นจากกราฟราคาว่าระดับราคาลดลง แต่แรงขายอ่อนแรงแล้ว และแรงซื้อกำลังดันกลับขึ้นมา หรือเราตรวจพบ ฺBullish Divergence (โปรดดูภาพถัดไปประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจ)
ที่มาภาพ: Mitrade
แต่กรณีตรงกันข้าม หากเส้นแนวโน้มของ RSI เป็นขาลง แต่เส้นแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น แรงซื้ออ่อนกำลังลง และแรงขายกำลังมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เราตรวจพบ Bearish Divergence (โปรดดูภาพถัดไปประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจ)
ที่มาภาพ: Mitrade
Bullish Divergence และ Bearish Divergence เป็นการยืนยันที่น่าเชื่อถือกว่าเพียงดูตัวเลขดัชนีที่ 30 หรือ 70 และนักเทรดนำมาเป็นสัญญาณอ้างอิงการกดเปิดออเดอร์ได้
- จากค่า RSI จะปิดออเดอร์ให้ได้กำไรได้อย่างไร
หากการคาดการณ์ถูกต้อง นักเทรดจะเห็นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น หากต้องการทำกำไรอย่างเร็ว นักเทรดอาจปิดออเดอร์ได้เลยไม่ว่าผลตอบแทนจะเป็นบวกมากหรือน้อย หรือกรณีที่ต้องการผลตอบแทนมากขึ้น นักเทรดจะถือออเดอร์ให้นานขึ้น ควรสังเกตว่าแนวโน้มที่เห็นมีความสอดคล้องกับแนวโน้มในระยะยาวภายใต้กรอบระยะเวลารายวันหรือรายสัปดาห์ต่อเนื่องมา และนักเทรดมีสิทธิพิเศษได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมถือข้ามคืน หรือถ้านักเทรดเห็นว่าการต้องจ่ายค่าธรรมเนียมคุ้มค่าการลงทุนเพราะน้อยกว่าผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเทียบเป็นสัดส่วน อาจเลือกถือออเดอร์ต่อไปเรื่อย ๆ จนได้ผลกำไรที่มากขึ้นอีก
การตั้งใจจะถือยาวและปิดออเดอร์ นักเทรดอาจมองหา Bullish Divergence และ Bearish Divergence ทั้งในกรอบเวลาระยะสั้นและระยะยาวว่าสอดคล้องกัน
นอกจากนี้การกำหนดระดับที่ Take Profit ไว้ล่วงหน้า ยังทำให้เกิดความแน่นอนในการทำกำไร แม้ไม่เฝ้าหน้าจอก็ไม่ต้องตกใจหากมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดไว้
สรุป RSI และข้อควรระวังในการใช้งาน
RSI คือค่าที่คำนวณขึ้นมาจากค่าเฉลี่ย มาตรฐานกรอบระยะเวลาอ้างอิงคือ 14 แท่งเทียน จากตัวอย่างที่แสดงการคำนวณให้ดูได้กำหนดราคาเป็นรายวัน แต่หากนักเทรดเลือกกำหนดกรอบระยะเวลาเป็นระยะเวลาสั้นกว่านั้น โดยเฉพาะถ้าสั้นเกินไปอย่างนาที จะทำให้ค่า RSI ที่ได้เป็นค่าที่คำนวณจากตัวเลขที่ผันผวนสูง สัญญาณที่ตรวจพบจะไม่น่าเชื่อถือหรือเป็นสัญญาณหลอก
หากแค่ดูค่าดัชนี 0-100 ไม่ได้ใช้ลักษณะ Divergence จะพบว่าบางครั้งสถานะ Overbought (ที่แตะ 70 หรือเพิ่มระดับสูงกว่า) หรือ Oversold (ที่แตะ 30 หรือลดระดับต่ำกว่า) สามารถดำเนินไปได้ในระยะยาว ซึ่งนั่นอาจจะมีนัยยะถึงการเคลื่อนที่ของราคาแบบ Sideway ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่แบบกรอบแคบที่ทำให้ยากต่อการคาดเดาแนวโน้มต่อไป เพื่อไม่ประมาท หากพบว่าได้กำไรแล้ว แต่สัญญาณ Overbought และ Oversold ยังดำเนินต่อไป อาจปิดสถานะออเดอร์เพื่อทำกำไรไว้ก่อน
RSI คือเครื่องมือที่ให้ค่าดัชนี ทำให้สะดุดสายตา แต่ในการใช้งานควรใช้เส้นแนวโน้มเข้ามาประกอบ และเน้นดูแนวโน้ม RSI เทียบกับแนวโน้มราคาเพื่อตัดสินใจ นอกจากนี้หากใช้เครื่องมือบ่งชี้ (Indicator) อื่น ๆ ควบคู่ด้วย จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่คาดหวัง
Photo by Austin Distel on Unsplash
ขั้นตอน และข้อดีของการซื้อขายกับ Mitrade
Mitrade เป็นผู้ให้บริการทางการเงินผ่านแพลตฟอร์มที่ลูกค้าเข้าใช้งานเก็งกำไร FOREX และราคาสินทรัพย์อ้างอิงอื่น ๆ อย่างครอบคลุม ทั้งในตลาดดัชนี ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย
การใช้บริการของ Mitrade เริ่มต้นด้วยการเลือกกด ‘สร้างบัญชีเทรดจริง’ หรือ ‘เข้าสู่ระบบ’ และเลือกกด ‘Create Account’ สามารถเชื่อมต่อบัญชีอีเมล์หรือเฟสบุ๊คสำหรับการ Log In อย่างสะดวกรวดเร็ว หลังจากมีบัญชีซื้อขายแล้ว สามารถยืนยันตัวตน ฝากเงิน และเริ่มเทรดได้เลย
ข้อดีของการซื้อขายกับ Mitrade
- ผลิตภัณฑ์อ้างอิงสินค้าหลากหลายตลาด ทำให้จัดสรรพอร์ตฟอลิโอการลงทุนได้ดี มีโอกาสลงทุนทำกำไรเสมอ และกระจายความเสี่ยง
- สามารถลงทุนได้ทั้งตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย หากสนใจเก็งกำไรราคาหุ้นต่างประเทศ
- สมัครและยืนยันตัวตนแล้วสามารถฝากเงินและเทรดได้เลย
- แพลตฟอร์มใช้งานง่าย ดูกราฟราคาและค่าจากเครื่องบ่งชี้ (Indicator) ต่าง ๆ ได้ง่าย สบายตา
- มีเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์หลายตัวครอบคลุมการใช้งาน
- มีบัญชีทดลองเทรดให้ลองใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ก่อนเอาไปเทรดจริง หรือฝึกใช้งานเทรดตั้งแต่ต้นสำหรับมือใหม่
- ฝ่ายบริการลูกค้าติดต่อได้ง่าย ดำเนินการหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้รวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง