Overbought Oversold คืออะไร? คำศัพท์ Forex

Overbought Oversold คืออะไร? คำศัพท์ Forex

Overbought Oversold คืออะไร? คำศัพท์ Forex

Overbought คือสภาวะตลาดที่แรงซื้อผลักราคาขึ้นสูงเกินไป ในขณะที่ Oversold คือสภาวะตลาดที่แรงขายกดราคาให้ต่ำเกินไป, RSI และ Stochastic ชี้จุด Overbought หรือ Oversold ก่อนราคาจะกลับตัวสู่มูลค่าที่แท้จริง

กดซื้อขายเมื่อราคาเริ่มเปลี่ยนทิศทางสามารถสร้างผลตอบแทนที่คาดหวัง ต้องเริ่มจากเข้าใจ Overbought และ Oversold โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานอย่าง P/E เจาะจงหุ้นที่ Overbought หรือ Oversold แล้วเข้าออกให้ตรงจุดด้วยเทคนิคอย่าง RSI และ Stochastic 

Key Takeaways

  • Overbought คือภาวะที่ราคาเสนอซื้อพุ่งขึ้นสูงจนเชื่อว่าสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ๆ และนักเทรดจะชะลอการส่งออร์เดอร์ ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลง
  • Oversold คือภาวะที่มีการเสนอขายหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ในมูลค่าที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่ามูลค่าตลาด ทำให้ราคามีแนวโน้มกลับมาเพิ่มสูงขึ้นจากการเริ่มช้อนซื้อ
  • การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อย่าง P/E Ratio ชี้หุ้นที่มูลค่าพื้นฐานไม่สัมพันธ์กับตลาด
  • RSI คือตัวบ่งชี้ด้วยค่า 0-100 ว่าหุ้นกำลังถูกซื้อขายในสภาวะ Oversold (RSI <30) หรือ Overbought (RSI >70)
  • Stochastic Oscillator คือตัวบ่งชี้ที่ประกอบด้วยสองค่าในแต่ละจุดราคาที่แสดงผลการปรับเปลี่ยนต่อเนื่องเป็นกราฟ โดยหากเส้น %K ตัดสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยคือ %D (เมื่อ %K <20) จะชี้สัญญาณ Oversold หรือหาก %K ตัดมาต่ำกว่า %D (เมื่อ %K >80) ชี้สัญญาณ Ovebought 

ภาวะราคาของหุ้นตัวหนึ่งที่ทำ Overbought บ่งบอกถึงราคาที่ขยับขึ้นอย่างร้อนแรง ซึ่งหากนักเก็งกำไรกำลังได้รับอิทธิพลจากข่าวสารที่ดีในตลาด ราคาของหุ้นสามารถพุ่งขึ้นได้อีก จะเรียกว่าเป็น Overbought Bullish 

แต่ขณะเดียวกัน ราคาที่พุ่งสูงเกินไปจะทำให้เกิดมุมมองวิพากษ์มูลค่าตลาดของหุ้นว่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เกี่ยวเนื่องกับการทำกำไรจากการดำเนินการและการจ่ายเงินปันผลของบริษัทอ้างอิง เป็นช่วงอ่อนไหวที่นักเก็งกำไรอาจลดการเปิดออเดอร์เสนอซื้อลง และมีออเดอร์ขายเพิ่มขึ้น ราคาของหุ้นสามารถชะลอความร้อนแรง และปรับเปลี่ยนสู่ทิศทางตรงกันข้ามคือขาลง จะเรียกว่า Overbought Bearing  

1. Overbought คืออะไร?

ส่วนภาวะ Oversold จะเกิดขึ้นเมื่อราคาขยับลงมากเกินไป อาจมีอิทธิพลมาจากความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จนโยกย้ายเงินลงทุนไปอยู่ในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนดีกว่า เมื่อราคาลดลงถึงจุดหนึ่ง ก็อาจจะกลับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกตามมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นหรือสินทรัพย์นั่นเอง

การจับสัญญาณได้ว่า Overbought และ Oversold เกิดขึ้น เป็นจังหวะที่นักลงทุนบริหารความเสี่ยงและความคาดหวังได้ โดยสามารถขายเพื่อทำกำไรจาก่ส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้น หรือซื้อคืนเพื่อทำกำไรจากการชอร์ตเซลล์ก่อนหน้า 

Overbought คือ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ในการอธิบายเมื่อหุ้นในตลาดมีราคาดีดสูงขึ้นด้วยออเดอร์ซื้อจำนวนมาก โดยมีเหตุมาจากกระตุ้นด้วยข่าวหรือสถานการณ์บางประการ ซึ่งในจิตวิทยาการลงทุน เมื่อราคาขยับสูงขึ้นจะสร้างความสนใจให้แก่ตลาดและกดดันให้ฝูงชนเริ่มต้องการซื้อบ้างเพื่อหวังทำกำไร เป็นแรงดันให้ราคาหุ้นยิ่งพุ่งขึ้นไปอีกต่อเนื่องจนเหนือกว่าระดับที่สามารถอธิบายด้วยหลักการลงทุนที่มีเหตุมีผล 

2. Oversold คืออะไร?

หมายความว่าอย่างไรเมื่อหุ้นมีการขายเกินไป?

Oversold คือ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ในการอธิบายเมื่อหุ้นในตลาดมีราคาต่ำลงด้วยออเดอร์ขายจำนวนมาก ลักษณะการเกิด Oversold เป็นไปตามหลักจิตวิทยาการลงทุนเช่นกัน แต่ด้วยแรงจูงใจหลักคือการขาดความเชื่อมั่นในมูลค่าของหุ้น โดยการเทขายอย่างต่อเนื่องจะทำให้ราคาลดลงต่ำกว่าระดับราคาที่เหมาะสมกับมูลค่าของบริษัทที่ยังเปิดดำเนินการ

ราคาหุ้นในระดับที่สัมพันธ์กับภาวะ Overbought จะสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ส่วนภาวะ Oversold จะต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น การวัดหามูลค่าที่แท้จริง สามารถทำได้โดยใช้การวิเคราะห์ทางพื้นฐานที่เน้นการเทียบมูลค่าการดำเนินการต่าง ๆ เป็นสัดส่วน (Ratio) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าสองค่าหรือมากกว่านั้นว่าสอดคล้องหรือมีเพียงพอ ค่าสัดส่วนมีหลายรูปแบบ เช่น P/E Ratio P/BV Ratio EV/EBITDA Ratio เป็น แต่ละรูปแบบมีสูตรคำนวณเปรียบเทียบต่างกัน

ค่าสัดส่วนพื้นฐานที่นิยมใช้พิจารณามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นแบบองค์รวม คือ P/E Ratio 

สูตรคำนวณ P/E = ราคาหุ้น/กำไรสุทธิต่อหุ้น

โดยจะใช้สูตรนี้ได้ มีข้อจำกัดว่าธุรกิจกำลังทำกำไรอยู่ โดยค่าที่คำนวณได้ P/E ต้องไม่เกินการขยายตัวของกำไรโดยเฉลี่ย เช่นกำไรโตโดยเฉลี่ย 10% ก็ไม่ควรมีค่า P/E สูงกว่า 10 ไม่เช่นนั้นก็คือราคาสูงจนแพงเกิน ซึ่งก็คือมี Overbought เกิดขึ้น หรือหาก P/E มีค่าต่ำกว่ากำไรโตโดยเฉลี่ยค่อนข้างมาก ก็สื่อว่ามี Oversold เกิดขึ้น ค่า P/E ปกติจะมีรายงานไว้ตามหน้าเว็บไซด์ข้อมูลหุ้นทั่วไป

ทั้งนี้การยืนยัน Overbought และ Oversold โดยเฉพาะในการเทรดระยะสั้นจะเป็นการดีหากใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) ที่เป็นการใช้กราฟที่สร้างขึ้นจากค่าพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงปริมาณการซื้อขาย หรือความผันผวนของราคามาร่วมด้วย ซึ่งการใช้ Technical Analysis มีความเหมาะสมในการวิเคราะห์แม้แต่กับหุ้นที่บริษัทไม่มีกำไร

หากลองพิจารณาหุ้นสหรัฐ 5 รายการในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 เพื่อสรุปหาสัญญาณ Overbought หรือ Oversold อย่างง่ายในระยะยาว

  1. Microsot (MSFT)

ราคาปิดที่ $256.72 ค่า P/E รายวัน คือ 26.80 

การเติบโตของกำไร 38.37% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021 

ค่า P/E ไม่ได้อยู่สูงกว่าการเติบโตของกำไร และไม่ได้อยู่่ต่ำกว่ามาก ดังนั้นจึงไม่ได้มีสัญญาณของ Overbought หรือ Oversold ที่ชี้ชัด

  1. Apple (AAPL)

ราคาปิดที่ $150.17 ค่า P/E รายวัน คือ 24.38

การเติบโตของกำไร 64.92% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021 

ค่า P/E อยู่ต่ำกว่าการเติบโตของกำไรมากกว่าครึ่ง ดังนั้นราคาจึงส่งสัญญาณ Oversold 

  1. Amazon (AMZN)

ราคาปิดที่ $113.55 ค่า P/E รายวัน คือ 54.82

การเติบโตของกำไร 56.41% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021 

ค่า P/E อยู่ต่ำกว่าการเติบโตของกำไร แต่ถือว่ายังไล่เลี่ยกัน ดังนั้นจึงไม่ได้มีสัญญาณของ Overbought หรือ Oversold ที่ชี้ชัด

  1. Alphabet Inc (GOOG)

ราคาปิดที่ $2,255.34 ค่า P/E รายวัน คือ 20.40

การเติบโตของกำไร 88.81% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021 

ค่า P/E อยู่ต่ำกว่าการเติบโตของกำไรมากกว่าครึ่ง ดังนั้นราคาจึงส่งสัญญาณ Oversold 

  1. Waltmart (WMT)

ราคาปิดที่ $129.07 ค่า P/E รายวัน คือ 27.76

การเติบโตของกำไร 1.21% เทียบระหว่างปี 2020 และ 2021 

ค่า P/E อยู่สูงกว่าการเติบโตของกำไรมากกว่าครึ่ง ดังนั้นราคาจึงส่งสัญญาณ Overbought

การมีสัญญาณของ Overbought มีน้ำหนักโอนเอียงให้ตีความว่าราคาจะปรับเปลี่ยนทิศทางเป็นขาลง และกรณีของ Oversold มีน้ำหนักโอนเอียงมากกว่าราคาจะปรับเป็นทิศทางขาขึ้น เพราะราคาของหุ้นหนึ่ง ๆ มีแนวโน้มจะปรับเข้าหามูลค่าที่แท้จริงของตนเอง

หากดูกราฟระดับราคาควบคู่ อาจจะสับสนได้เพราะในกรณีของ Oversold ไม่จำเป็นที่จะเห็นว่ากราฟปรับราคาดิ่งลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ระดับราคาที่แสดงอยู่ มีนัยยะสำคัญคือน้อยกว่ามูลค่าที่แท้จริง และวันหนึ่งราคาจะต้องปรับขึ้น ส่วนกรณีของ Overbroght ไม่จำเป็นที่จะเห็นว่ากราฟราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสำคัญที่นัยยะสำคัญว่าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง และวันหนึ่งราคาจะต้องปรับลง

ความผันผวนของราคา(Price Volatility)และ Overbought Oversold  20%

การผันผวนของราคา คือระดับการเปลี่ยนแปลงเขิงสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่เพิ่มหรือค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่ลดลง คำนวณเปรียบเทียบจากราคาปิด ซึ่งการตั้งค่าพื้นฐานคือการเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่เพิ่มหรือส่วนต่างราคาที่ลบย้อนไป 14 แท่งเทียน ซึ่งค่าความผันผวนของราคาสามารถแสดงผลในรูปของกราฟ และแสดงคู่กับกราฟราคา

หากต้องการหลีกเลี่ยงสัญญาณหลอกในการเทรด โดยเฉพาะการเทรดระยะสั้นในผลิตภัณฑ์ CFD (Contract for Difference) แนะนำว่าควรตรวจสอบค่าความผันผวนของราคาโดยพิจารณาคู่กันไปกับกราฟราคาที่แสดงผลสี่ชั่วโมงขึ้นไป หรือเพื่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำขึ้น อาจสลับดูเทียบกับกราฟราคารายวันหรือนานกว่านั้น เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นจริง นั่นคือแนวโน้มราคาที่ปรับเปลี่ยนไปในช่วงสั้น ๆ มักได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มราคาในระยะยาว

Overbought หรือ Oversold ในระยะสั้นจะไม่ใช่สัญญาณหลอก หากในระยะยาว การกลับตัวของราคาได้เกิดขึ้นแล้ว การผันผวนของราคาแม้จะขึ้น ๆ ลง ๆ แต่ถ้าไม่มีปัจจัยที่ส่งอิทธิพลมากพอก็จะไม่เปลี่ยนแปลงแนวโน้มในระยะยาว เช่น Overbought เกิดขึ้นแล้ว และเชื่อว่าขาลงจะเกิดขึ้น ลองตรวจสอบในระยะยาวว่าแนวโน้มเป็นขาลงอยู่แล้วใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ผลสุดท้ายความผันผวนที่เห็นน่าจะจบลงที่ระดับราคาลดลงไปจริง ๆ

ค้นหาช่วง Overbought และ Oversold ตามตัวบ่งชี้  20%

1.Relative strength index RSI

คืออะไร

วิธีใช้เครื่องมือ RSI (พร้อมภาพหน้าจอ mitrade)

2. Stochastic

คืออะไร

วิธีใช้เครื่องมือ Stochastic Oscillator (พร้อมภาพหน้าจอ mitrade)

  1. Relative Strength Index (RSI)

สูตรคำนวณ RSI = 100 – (100/(1+RS))

โดยค่า RSI จะมาจากค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่เพิ่มหารด้วยค่าเฉลี่ยส่วนต่างราคาที่ลด 

ค่าดัชนีเมื่อคำนวณตามสูตรจะอยู่ระหว่าง 0-100 

กรณีของ Overbought คำนวณจากค่าเฉลี่ยราคาที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับราคาที่อ้างอิงจากวันเริ่มต้นการคำนวณ และได้ค่าดัชนีสูงถึง 70% 

กรณีของ Oversold คำนวณจากค่าเฉลี่ยราคาที่ลดลงเมื่อเทียบกับราคาที่อ้างอิงจากวันเริ่มต้นการคำนวณ และได้ค่าดัชนีต่ำกว่า 30%

ช่วงค่าระหว่าง 30-70 จะเป็นค่าปกติที่ไม่มีสัญญาณของการซื้อขายที่มากเกินไป 

หากเปิดใช้ตัวบ่งชี้ หรือเครื่องมือทางเทคนิคในกลุ่ม Indicators แล้ว จะพบแถบล่างที่แสดงกราฟค่า RSI และมีตัวเลขกำกับค่าทางด้านขวามือดังรูปที่ปรากฏต่อไป

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

วิธีใช้เครื่องมือ RSI ในหน้าแพลตฟอร์มซื้อขายของ Mitrade

  1. เลือกเมนู Indicator จะพบกับหน้าต่างให้กรอกชื่อเครื่องมือบ่งชี้ที่ต้องการ

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

  1. กรอกชื่อ Indicator คือ Relative Strength Index หรือ RSI ในช่องค้นหา Indicator

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

  1. เลือก Indicator จากรายการ ทำตามตัวอย่างนี้ เลือก Relative Strength Index

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

ค่า RSI บอกอะไรได้อีกนั้น กล่าวคือ นอกจากการดูจากค่าดัชนี ที่ 30 หรือ 70 แล้ว ตัว RSI ยังสามารถแสดงรูปแบบที่เรียกว่า RSI Divergence ออกมา โดยมีสองลักษณะ คือ

  1. Bullish Divergence RSI

ซึ่งจะมองให้ออกจำเป็นต้องอาศัยการลากเส้น Trend ที่จุดราคาต่ำสุดสองจุดเชื่อมต่อกันบนกราฟราคา แล้วลากเส้น Trend บนกราฟ RSI เชื่อมจุดที่ค่า RSI ต่ำสุดสองจุด บนจุดเวลาแสดงผลเดียวกัน เพื่อดูเปรียบเทียบ ถ้าพบว่าเส้น Trend บนกราฟ RSI มีทิศทางขัดแย้งกับเส้น Trend บนกราฟราคาที่เป็นขาขึ้น ถือว่าเป็นสัญญาณชี้บอกว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนทิศทาง ถ้าราคาเป็นขาลงอยู่ ก็จะกลับเป็นขาขึ้น

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

  1. Bearish Divergence RSI

ลากเส้น Trend ที่จุดราคาสูงสุดสองจุดเชื่อมต่อกันพร้อมกับลากเส้น Trend บนกราฟ RSI เชื่อมจุดที่ค่า RSI สูงสุดสองจุด บนจุดเวลาแสดงผลเดียวกัน เพื่อดูประกอบกัน ถ้าพบว่าเส้น Trend บนกราฟ RSI มีทิศทางขัดแย้งกับเส้น Trend บนกราฟราคาที่เป็นขาขึ้น ถือว่าสัญญาณชี้บอกว่าราคาหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

การอ่านค่าของ RSI มักจะถูกนำไปสับสนกับการอ่านค่าของ Moving Average Convergence Divergence (MACD) ซึ่งที่มาหรือสูตรคำนวณเพื่อให้ได้ค่าที่ใช้งานจะแตกต่างกัน ดังนั้นแม้จะดูคล้ายคลึงแต่การอ่านค่าจะแตกต่างกัน การใช้ RSI เพื่อเป็นสัญญาณสู่ตลาดขาขึ้นหรือลง เพียงหาความขัดแย้งระหว่าง Trend Line บนกราฟราคาและกราฟ RSI ก็เพียงพอ หรือเพื่อความมั่นใจนักเทรดอาจใช้ MACD หรือตัวบ่งชี้อื่น ๆ ควบคู่ด้วย 

  1. Stochastic Oscillator (STO)

ขณะที่ราคาหุ้นวิ่งอยู่ในกรอบไซต์เวย์ซึ่งเป็นกรอบแคบ ๆ ผันผวนไปมา ไม่ได้แสดงแนวโน้มเป็นขาขึ้นหรือขาลงชัดเจน สามารถนำ STO Indicator มาใช้เพื่อวิเคราะห์หาแนวโน้มและเก็งกำไรได้

โดยลักษณะกราฟ STO จะประกอบด้วยเส้นกราฟสองสีที่ทิศทางผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของราคาแต่ทั้งสองเส้นแสดงระดับความผันผวนที่แตกต่างกัน เพราะเส้นหนึ่งคำนวณจากการเติบโตของราคาโดยเทียบสัดส่วนระหว่างผลต่างราคาปิดกับราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา และผลต่างราคาสูงสุดกับราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา เรียกว่า %K ขณะที่อีกเส้นหนึ่งนำค่าเฉลี่ยของ %K มาแสดง เรียกว่า %D

  • %K (สีน้ำเงิน) คือเส้น Stochastic
  • %D (สีแดง) คือเส้นค่าเฉลี่ย %K

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

สูตรคำนวณ STO

%K  =  [(ราคาปิด – ราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา)/(ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุดในช่วงที่พิจารณา)] x100

%D = ค่าเฉลี่ยของค่า %K

Fast Stochastic คือ %K

Slow Stochastic คือ %D

วิธีใช้เครื่องมือ Stochastic Oscillator ในหน้าแพลตฟอร์มซื้อขายของ Mitrade

  1. กดที่เมนู Indicators แล้วกรอกค้นหา Stochastic จากนั้นกดเลือกจากรายการตัวเลือกที่ปรากฏ

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

  1. จะพบเส้นกราฟ STO ขึ้นในแถบด้านล่างของกราฟราคา มีลักษณะดังในรูปต่อไปนี้

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

กรณี Overbought ค่า %K>80 และ %K ตัดลงมาต่ำกว่า %D

จากภาพต่อยอดจากการวิเคราะห์ P/E มองว่าน่าจะเกิด Overbought ที่ไม่ใช่สัญญาณหลอก เมื่อตรวจดูในกรอบเวลาอ้างอิงเป็นเดือนบนราคาหุ้น WMT พบว่าราคาหลังพบสัญญาณกลับตัวจาก STO มีการยืนยันทิศทางเป็นการปรับลดลงจริง ๆ 

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

กรณี Oversold ค่า %K<20 และ %K ตัดขึ้นเหนือ %D

จากภาพต่อยอดจากการวิเคราะห์ P/E มองว่าน่าจะเกิด Oversold ที่ไม่ใช่สัญญาณหลอก เมื่อตรวจดูในกรอบเวลาอ้างอิงเป็นเดือนบนราคาหุ้น GOOG พบสัญญาณกลับตัวจาก STO Indicator ซึ่ง %K อยู่เหนือ %D อย่างต่อเนื่อง หลายครั้งด้วยกัน แม้ในพื้นที่ 20-80 เป็นสัญญาณว่าระยะยาว หุ้นกำลังกลับสู่ขาขึ้นหลังจากอยู่ในกรอบไซต์เวย์ไปแล้วในชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ที่มาภาพ: https://app.mitrade.com/

สรุป 10%

การหาสัญญาณ Overbought และ Oversold ช่วยทำให้จับจังหวะเปิดออเดอร์ได้ดี โดยในเบื้องต้นเพื่อความมั่นใจในการเก็งกำไร อาจจะทำการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานเข้าช่วยก่อนเพื่อชี้หุ้นที่เปิดโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างแน่นอน การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพียงอย่างเดียวจะเหมาะกับการสั่งสมความมั่งคั่งผ่านการลงทุนระยะยาวในหุ้นปันผล แต่การลงทุนในหุ้นปันผลจะต้องใช้เงินทุนเท่ากับมูลค่าหุ้นในตลาด การลงทุนในอนุพันธ์อย่าง CDF ผ่านโบรกเกอร์สามารถใช้ต้นทุนน้อยกว่าเพื่อการเก็งกำไรด้วยสิทธิประโยชน์ของ Leverage ที่ทบเท่ามูลค่าของเงินทุนได้ ซึ่งการใช้ความรู้เครื่องมือบ่งชี้อย่าง RSI และ STO จะช่วยเก็งกำไรในการลงทุน CDF ให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น

บทความนี้เป็นการให้ความรู้ เพื่อให้นำไปประกอบการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจลงทุน ไม่ได้เป็นการเสนอแนะการลงทุนในหุ้นตัวใดหรือสินทรัพย์อื่นใดเป็นการเฉพาะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *